ราชมงคลสุวรรณภูมิ ผนึกกำลัง สทน. กฟผ. และหน่วยงานพันธมิตร ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานใหม่ "ดันไทยสู่ศูนย์กลางภูมิภาคของเทคโนโลยีพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันอาเซียน"
รองศาสตราจารย์ ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิได้มอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา จันทร์ผา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ภายไต้โครงการอบรมทางด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันแห่งอาเซียน ครั้งที่ 10 The 10th ASEAN School on Plasma and Neclear Fusion and SOKENDAI Asian School (ASPNF2025)ระหว่างวันที่ 13-17 มกราคม 2568 เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 ศาสตราจารย์พิเศษชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สถิตย์ อรุณแสง รองอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา จันทร์ผา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.สัมพันธ์ สุกใส คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ผู้บริหาร นักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์ ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการอบรมทางด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันแห่งอาเซียน ครั้งที่ 10 โดยมีดร.พรสรรค์ โรจนพานิช รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พร้อมด้วยนายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไฟฟ้า ร่วมเป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าวโดยมีวิทยากรจากประเทศญี่ปุ่น Prof. Motoshi GOTO NIFS Head of Meta-hierarchy Dynamics Unit บรรยายในหัวข้อ “Recent advancement and breakthrough on fusion by National Institute of Fusion Science (NIFS), Japan” ซึ่งมีนิสิต นักศึกษา และนักวิจัยจากประเทศอาเซียนเข้าร่วม อาทิเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทยเข้าร่วม โดยเป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สทน. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม อว. และสถาบันฟิวชันในสนามแม่เหล็ก (Research Institute on Magnetic Fusion หรือ IRFM) ภายใต้ The French Alternative Energies and Atomic Energy Commission (CEA), International Thermonuclear Experimental Reactor (ITER) ประเทศฝรั่งเศส , ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ( International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) ประเทศออสเตรีย , Japan Graduate University for Advanced Studies (SOKENDAI), National Institute for Fusion Science (NIFS) ประเทศญี่ปุ่น, และหน่วยงานเครือข่ายวิจัยภายในประเทศของ สทน. ภายใต้ความร่วมมือ Center for Plasma and Nuclear Fusion Technology (CPaF) เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชันในอนาคต และส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางประสานงานระดับภูมิภาคด้านพลาสมาและฟิวชัน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงวางแนวทางความร่วมมือในการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงประโยชน์ที่หลากหลายของเทคโนโลยีนิวเคลียร์แก่เยาวชน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดทางเลือกสำหรับประเทศในอนาคตณ ห้องประชุมสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ชั้น 3 อาคารบูรณมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
รูปภาพเพิ่มเติม : https://photos.app.goo.gl/V5qUiTHM8rRWMekx9